วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

11.5Driver ของอุปกรณ์อื่น ๆและการตรวจสอบการทำงานได้ถูกต้องหรือไม่


Driver ของอุปกรณ์อื่น ๆ
สำหรับ Driver ของอุปกรณ์อื่น ๆ ในที่นี้ ขออธิบายแนวทางคร่าว ๆ ในการลง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มจากกดที่Mycomputer และเลือกที่ Control Panel และกดเลือกที่ Add New Hardware

จะได้เมนู Add New Hardware Wizard กด Next

ตรงนี้ หากเป็นเครื่องที่ Windows ไม่รู้จักอุปกรณ์ที่มีอยู่จะขึ้นรายการมาให้เลือก Update Driver ถ้าเป็นเช่นนั้นให้ทำการUpdate Driver จนครบหรือจนกระทั่งไม่มีรายการอยู่ใน List นั้น ๆ ขั้นตอนการ Update Driver ก็ทำแบบเดียวกับการลงDriver ของการ์ดจอ แทบจะเรียกได้ว่าขั้นตอนการทำเหมือนกันเกือบทุกอย่าง แตกต่างกันก็เพียงแค่ Folder ที่จัดเก็บ Driverเท่านั้น
การตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ 
ทำงานได้ถูกต้องหรือไม่
ขั้นตอนสุดท้ายคือตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้ถูกต้องคือให้เลือก Start >> Settings >> Control Panel

เลือก System เลือก Device Manager ดูว่ามีเครื่องหมายตกใจอยู่หน้าอุปกรณ์ใด ๆ หรือไม่

หากพบว่ามีเครื่องหมายตกใจอยู่หน้าอุปกรณ์ใด อาจจะแสดงว่ามีปัญหาของการลง Driver ผิดรุ่นหรือเกิดการไม่เข้ากันของระบบ หรือการชนกันของ IRQ แบบนี้ลองเข้าไปดูในรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนอาจจะสามารถแก้ไขได้แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ ก็คงต้องให้ผู้ชำนาญงานมาช่วยดูซะแล้ว ถ้าหากไม่มีเครื่องหมายตกใจอยู่เลยและเครื่องของคุณสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง มีเสียงครบ ก็น่าจะถือว่าคุณสอบผ่านการติดตั้ง Windows 98 แล้ว

11.4การติดตั้งซีพียู

การติดตั้งซีพียู
          ความร้อนของซีพียู AMD กลายเป็นภาพในอดีดไปแล้ว เมื่อมีเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน Cool ‘n Quiet ผสานมาในซีพียูตระกูล Athlon 64-bitเมื่อช่วงงประมาณปี พ.ศ 2541 – 2546 ทางบริษัท AMD ผู้ผลิตซีพียูคู่แข่งรายสำคัญของ Intel ได้ผลิตซีพียูที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับ Intel ออกมาหลายรุ่น (ตระกูล Athlon, Duron) ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า Intel พอสมควร จึงทำให้ในช่วงเวลานั้นใครๆ ก็ถามหาซีพียู จาก AMD แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานนักกระแสด้านลบของซีพียู AMD ก็เกิดขึ้น เพราะปัญหาความไม่มีเสถียรภาพ ในการทำงานของซีพียูที่เกิดจากความร้อนที่ซีพียูผลิตออกมา อีกทั้งเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากชุดระบายความร้อน ซีพีพยูที่ค่อนข้างเสียงดังอีกด้วย


ซีพียู AMD Athlon XP 3000+ ที่มีความร้อนสูง


พัดลมของซีพียู AMD ในอดีดที่ค่อนข้างจะเสียงดัง
          จากปัญหาดังกล่าว AMD ก็ใช่ว่าจะละเลยไปเสียทีเดียว เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นทาง AMDพยายามปรับปรุงซีพียูของตนเองให้มีความร้อนน้อยลง แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพที่เหมือนเดิม ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาข้อบกพร่องนั้นก็คือ ซีพียูรุ่นใหม่ในตระกูล AMD Athlon 64-Bit ที่เราได้พบเจอกันในปัจจุบันนี่เองครับ





การใช้สิลิโคนในการนำความร้อนก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยในการระบายความร้อน

Cool ‘n Quiet เทคโนโลยีที่มาพร้อมกับซีพียู AMD Athlon 64-Bit



 Cool ‘n Quiet ความหมายในชื่อก็คงจะบอกได้เป็นอย่างดีแล้วครับว่า “เย็น และ เงียบ” ซึ่งทาง
AMD นั้นพยายามจะชูประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อทำให้เห็นว่าซีพียูรุ่นใหม่ของเขานั้นไม่ได้ร้อนอีกต่อไปแล้ว          อีกทั้งชุดระบายความร้อนที่ใช้คู่กับซีพียูนั้นก็จะทำงานเงียบกว่าอีกด้วย ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวจะมาพร้อมกับ
ซีพียูในตระกูล Athlon 64-Bit ทั้งซ๊อกเก็ต 939 และ 754 อีกทั้งในซีพียูน้องเล็กอย่าง
Sempron ที่เป็นซ็อกเก็ต 754 นั้นก็รองรับเทคโนโลยีนี้ด้วย



หลักการทำงานของเทคโนโลยี Cool ‘n Quiet

สำหรับเทคโนโลยีนี้จะมีการทำงานคล้ายๆ กับเทคโนโลยี Speed Step ของทาง Intel ที่จะทำการรลดความเร็วของซีพียูลงเมื่อไม่ได้ทำงานหนัก โดยการลดความเร็วลงนั้นจะใช้วิธีการลดตัวคูณของซีพียูลง
(CPU Multiply) พร้อมกับจะลดแรงดันไฟเลี้ยงซีพียู (Vcore) ลงด้วย ซึ่งแน่นอนครับว่า เมื่อซีพียูลดความเร็วลง ความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย โดยวิธีการลดความเร็วเช่นนี้เราไม่ต้องเป็นห่วงครับว่าซีพียูจะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพประสิทธิภาพ เนื่องจากการลดความเร็วลงนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงที่ซีพียูว่างงาน (Idle) หรือในขณะที่เราใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
ธรรมดาๆ เช่น เปิดเอกสาร Word หรือเล่นอินเทอร์เน็ต เป็นต้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านเล่นเกม ดูหนัง หรือทำงานใดๆ ที่ต้องใช้ความสามารถของซีพียูละก็ ความเร็วของซีพียูก็จะกลับมาทำงานที่ความเร็วปกติเช่นเดิม



ขณะฟังเพลงซีพียูไม่ได้ทำงานอะไรมากมายนัก ฉะนั้น Cool ‘n Quiet จึงสั่งให้ซีพียูทำงานช้าสุด
         วิธีการเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet
         สำหรับท่านที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู AMD Athlon 64-Bit อยู่ไม่ว่าจะใช้งานร่วมกับ
         เมนบอร์ดรุ่นใดก็ตาม ท่านสามารถเปิดใช้งานเทคโนโลยี Cool ‘n Quiet ได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
             1. เข้าสู่ไบออสของเมนบอร์ดด้วยการกดที่ปุ่ม Delete ขณะบูทเครื่อง จากนั้นเข้าไปที่เมนูที่เกี่ยวกับการ
         ควบคุมการทำงานซีพียู เช่น เมนู Advanced >CPU  Configuration ในเมนบอร์ด ASUS A8N-SLI



2. ค้นหาหัวข้อที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี Cool ‘n Quiet เช่น AMD K8 Cool ‘n’ Quiet Control ซึ่งเมื่อค้นหาเจอแล้วให้ท่านเปลี่ยน Disabled เป็น Enabled จากนั้น Save and Exit



3. เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Window ตามปกติ จากนั้นติดตั้งไดร์เวอร์ซีพียู AMD ซึ่งดาวโหลดได้ที่เว็บไซต์www.amd.com


4. เปิดใช้งานส่วนจัดการพลังงานโดยกดไปที่ Control Panel > Power Option หัวข้อ Power schemes เลือก Minimal Power Management


เพียงขั้นตอนง่ายๆ แบบนี้เองครับก็จะช่วยให้การใช้งานพลังงานของซีพียูนั้นลดลง แถมความร้อนที่ซีพียูผลิตออกมา
นั้นก็ลดลงไปอีกด้วย

ทดสอบประสิทธิภาพหลังเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet

หลังจากเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet แล้วที่นี้เรามาทดสอบดูครับว่าความเร็วซีพียูลดลงไปเท่าไหร่ และความร้อนลดลงไปเท่าไหร่กันบ้าง อีกทั้งประสิทธิภาพจะโดนลดทอนไปด้วยหรือไม่


ความเร็วของซีพียูขณะเปิดเครื่องครั้งแรก




ความเร็วของซีพียูก่อนเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet พบว่าทำงานที่ความเร็ว1800 MHz (3000+) ตัวคูณ 9.0x และแรงดันไฟเลี้ยงซีพียู 1.424V





ความเร็วของซีพียูหลังเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet ลดลงเหลือ 1000 MHz ที่ตัวคูณ 5.x
และแรงดันไฟเลี้ยง ซีพียู 1.120V



ความร้อนของซีพียูก่อนเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet



ความร้อนของซีพียูหลังเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet ลดลงเหลือ 32 องศาเซลเซียส



ประสิทธิภาพของซีพียูก่อนเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet



ประสิทธิภาพของซีพียูหลังเปิดใช้งาน Cool ‘n Quiet

จากผลการทดสอบเราจะเห็นได้ชัดครับว่าความเร็วของซีพียูนั้นลดลง 800 MHz พร้อมกับแรงดันไฟเลี้ยงซีพียูก็ลดลงไปเหลือ
1.120V เท่านั้น ซึ่งผลที่ได้คือความร้อนที่ลดลง เหลือเพียง 32 องศาเซลเซียส เท่านั้น ส่วนประสิทธิภาพซีพียูที่ทดสอบด้วยโปรแกรม Sisoft Sandra 2005 ที่การทดสอบ CPU Benchmark นั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้สามารถบอกได้เลยครับว่า Cool ‘n Quiet นั้นไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพซีพียูน้อยลง แต่กลับกันมันกลับช่วยให้ซีพียูเย็นลงมากกว่าเดิมครับ

ท้าพิสูจน์เทคโนโลยี Cool ‘n Quiet ด้วยการถอดพัดลมซีพียูออก








ปิดการตรวจสอบพัดลมในไบออส เพื่อให้บูทเข้า Windows ได้สะดวกขณะทดสอบ



โปรแกรมวัดอุณหภูมิแจ้งเตือนไม่สัญญาณจาก Sensor พัดลม



โปรแกรมวัดอุณหภูมิแสดงผลเป็นสีแดง ซึ่งหมายถึงพัดลมไม่ทำงาน

เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการที่ชัดเจนขึ้นของซีพียูในตระกูล AMD Athlon 64-Bit เกี่ยวกับการจัดการพลังงาน
ด้วยเทคโนโลยี Cool ‘n Quiet เราจะขอถ้าพิสูจน์ด้วยการเอาพัดลมซีพียูออกแล้ว แล้วดูสิว่า Cool ‘n Quiet นั้นจะช่วยลดความร้อนให้ซีพียูให้คงที่แค่ใหน และเราจะทดลองดูด้วยครับว่าเมื่อซีพียูทำงานแบบ Full Load แล้วนั้นความร้อนนั้นจะเพิ่มไปเท่าไหร่กัน แน่



อุณหภูมิห้องขณะทำการทดสอบ



ความร้อนซีพียู 37 องศาเซลเซียส ขณะเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ๆ โดยไม่มีพัดลม



ความร้อนซีพียูหยุดอยู่ที่  65 องศาเซลเซียส เมื่อทดสอบด้วยโปรแกรม Sisoft Sandra



ประสิทธิภาพของซีพียูไม่ต่างจากตอนที่มีพัดลมเลย

จากผลการทดสอบ พบว่าความร้อนของซีพียูเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ๆ นั้นหยุดอยู่ที่ 42 องศาเซลเซียส (จากเดิมตอนมีพัดลม 35 องศาเซลเซียส) และเมื่อทดสอบ Benchmark ซีพียูด้วยโปรแกรม Sisoft Sandra อุณหภูมิซีพียูขยับขึ้นไปถึง 65 องศาเซลเซียส หรือเพิ่มขึ้นมา 23 องศาเซลเซียส ซึ่งที่ระดับความร้อนดังกล่าวเครื่องคอมพิวเตอร์ยังทำงานปกติและไม่พบว่ามีการอาการแฮ็งหรือเครื่องช้าลงแต่อย่างใด



ความร้อนขณะเล่นเกม วัดโดยตรงจากคอร์ซีพียู



ความร้อนที่วัดได้ขณะเล่นเกมโดยวัดที่ผิวฮีตซิงก์

และเมื่อทดสอบเล่นเกมสามมิติด้วยเกม Far Cry ที่จะเป็นการทำให้ซีพียูนั้นทำงานทั้ง Idle และ Full Load สลับกันตลอดเวลาพบว่าความร้อนนั้นไปสิ้นสุดที่ระดับ 56 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มว่าความร้อนจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานๆ เพราะเมื่อเราทดสอบเล่นเกมนานเกือบ 20 นาที เราได้ทดสอบวัดอุณหภูมิอีกครั้งพบว่าความร้อนของซีพียูนั้นพุ่งขึ้นไปถึง 72 องศาเซลเซียส ทีเดียว ซึ่งที่จุดนี้ถือว่าอัตรายมากสำหรับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้สถาปัตยกรรม 0.09 ไมครอน เช่นนี้



ขณะเล่นเกมจะพบว่าซีพียูทำงาน Full Load ตลอดเวลา



ความร้อนสูงสุดขณะใช้งาน สูงถึง 72 องศาเซลเซียส

Cool ‘n Quiet ถือได้ว่าเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าจับตามอง เพราะ Cool ‘n Quiet นั้นสามารถช่วยลดความร้อนให้ซีพียูได้จริงโดยที่ประสิทธิภาพของซีพียูนั้นไม่ได้ลดลงเลย และเราคาดว่าในอนาคตอันใกล้
นี้ซีพียูรุ่นใหม่ๆ หรือแม้แต่ชิปกราฟิกรุ่นใหม่ๆ ที่จะผลิตออกมาก็ตาม จะติดเทคโนโลยีนี้ออกมาด้วย เพราะลำพังการจัดการพลังงานความร้อนด้วยการออกแบบโครงสร้างใหม่ หรือการออกแบบฮีตซิงก์ใหม่ นั้นอาจจะ
ไม่เพียงพอ  ฉะนั้นการลดความร้อนด้วยการลดความเร็วซีพียูลงในสภาวะที่ซีพียูทำงานทั่วไปนั้น ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ผลิตจะนำมาใช้งานครับ

11.3การติดตั้ง ไดร์เวอร์ ปริ้นเตอร์


 การติดตั้งไดร์เวอร์ปริ้นเตอร์ ดูเหมอืนจะง่ายแต่จริงๆหากไม่รู้ วิธีการติดตั้ง จากเรื่องที่คิดว่าง่ายมันจะเป็นเรื่องยากทันทีครับ เพราะพฤติกรรมของคนไทยประมาณ 90% จะไม่อ่านคู่มือเลยครับ ได้เครื่องมา จะต่อใช้งานทันที หากใช้งานไม่ได้ถึงจะกลับมาอ่านคู่มือ ซึ่งจริงๆต้องเริ่มจากการอ่านคู่มือให้จบทั้งเล่มก่อน แล้วค่อยเริ่มใช้งาน  คุณว่าจริงมั๊ยครับ ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง เช่นเหมือนคุณซื้อโทรศัพท์มือถือมาใหม่ๆ แล้วลองคิดดูว่าคุณจะเริ่มที่ตรงไหนก่อน 90%  เริ่มจากการกดเล่นก่อน กดนั้นกดนี้เล่นไปเรื่อยๆ มั่วๆไปเรื่อย เพราะขี้เกียจอ่าน กดเล่นไปเรื่อยๆเดี๋ยวมันก็จะเป็นเอง ถ้าติดปัญหา ถึงจะเริ่มเปิดคู่มือ เปิดอ่านเฉพาะส่วนที่ตัวเองติด หน้าอื่นไม่อ่าน คุณเป็นแบบนี้มั๊ยครับ ผมคิดว่าเป็นแบบนี้แน่นอน ซึ่งถ้าคุณเริ่มจากอ่านคู่มือก่อน 1 รอบ แล้วค่อยลงมือเล่น มันจะทุนเวลาการใช้งานลงได้เยอะ เพราะคุณจะรู้ คอนเซปก่อน เมื่ออ่านจบก็เริ่มลงมือเล่นเลย เมื่อติดปัญหา คุณจะรู้แล้วว่าควรจะอ่านหน้าไหน และทำยังไง  ของบ้างอย่างหากคุณใช้งานผิดวิธี สินค้านั้นอาจจะพังเลยก็ได้ เหมือนรถยนต์ ถ้าคุณไม่ถามจากพนักงาน ไม่อ่านคู่มือก่อน ไปเติมน้ำมันผิดประเภทเรื่องใหญ่เลยครับ เช่นรถเติมได้แค่ เบนซิน 91 95 แก๊สโซฮอล 91 95 ถ้าคุณไปเติม E20 E80 รถพังทันที หรือ เกียร์ออโต เวลาไปจอดในที่ที่รถเยอะต้องจอดซ้อนคัน ต้องใส่เกียร์ว่าง ปลดเบรคมือ พอไปจอด ใส่เกียร์ว้างไม่เป็น เพราะรถเกียร์ออโต้ หากจะจอดด้วยเกียร์ว่าง จะต้องได้ กดปุ่มแถวเกียร์ เพื่อปลดล๊อคให้ใส่เกียร์ว่างได้  แล้วรถคุณก็จะจอดข้วางทางคนอื่นจนเป็นเรื่องกัน  นี่ก็เพราะผลจากการไม่อ่านคู่มือ พอเครื่องเสียหายมา คุณจะก็โทษว่าพนักงานไม่บอก แต่จริงๆควรโทษตัวท่านเองมากกว่า เพราะคู่มือก็มีให้ แต่ไม่อ่าน ท่านต้องถามเงื่อนไขการประกันกับทางร้านด้วย ว่าเงื่อนไขการประกันมีอะไรบ้าง หากคุณทำ เครื่องเสียหายมานอกเหนือจากเงื่อนไขหการประกัน ทางร้านค้าเค้าจะประกันให้ท่านไม่ได้ แล้วท่านจะไปโทษร้านค้าไม่ได้ครับ ว่าเค้าไม่ดูแลท่าน จริงๆเราต้องเริ่มที่เราดูแลตัวเองก็ หากนอกเหนือจากนั้นสงสัยค่อยถามร้านค้าที่จำหน่าย เค้าพร้อมจะดูแลท่าน ดังนั้น หากคุณซื้อ อะไรมาควรอ่านคู่มือก่อนนะครับ
การติดตั้ง ไดร์เวอร์ ปริ้นเตอร์จะติดตั้งได้ 3 แบบ คือ
1. กรณี คุณมีแผ่น CD มากับเครื่อง อยู่แล้ว
2. กรณี คุณทำแผ่น CD หาย แล้วไป Down Load มาจากเวป
3. กรณี ให้ Windows จัดการหาไดร์เวอร์เอง หรือคุณเป็นคนชี้ตำแหน่งที่อยู่ของไดร์เวอร์ให้


 วิธีที่ 1 กรณี คุณมีแผ่น CD มากับเครื่อง อยู่แล้ว

ขั้นตอนการติดตั้ง อุปกรณ์ต่อพ่วง (ต่อพว่งคือ อุปกรณ์ ที่นำมาต่อเสริม ภายหลังที่เป็น USB ต่างๆ )
1. ต้องลง Software แผ่น CD ก่อนเป็นอันดับแรกเลย กรณีอุปกรณ์ที่ไม่มีแผ่น CD มา ถึงจะเสียบแล้วเปิดเครื่อง USB นั้นได้เลย หากเครื่องนั้นมีแผ่น CD มาด้วยต้องติดตั้งโปรแกรมจากแผ่น CD ก่อน ห้ามเปิดเครื่องก่อนติดตั้ง แผ่น CD หรืออาจจะเสียบสายทุกอย่างรอก่อนไว้ได้ แต่ห้ามเปิดเครื่อง2. รอจนกว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์ ขึ้น PopUp ถามหาเครื่อง ถึงจะเสียบ USB และเปิดเครื่องปริ้น 
ขั้นตอนเหล่านี้ คือมือการติดตั้ง ปริ้นเตอร์จะบอกไว้อย่างละเอียด แต่ผู้ซื้อไม่ได้อ่าน


 

 ภาพที่ 1  ใส่แผ่น CD ที่มากับเครื่อง โปรแกรมจะทำงานอัตโนมัติ ขึ้นมา ให้ท่านอ่านและทำตามขั้นตอนไปเรื่อยๆ โดยมากเดี๋ยวนี้จะเป็นภาษาไทย แต่ท่านเชื่อมั๊ยครับ ไม่มีใครอ่าน จะกด Next  หรือ Continue หรือ OK ไปทันที โดยที่ไม่อ่านอะไรเลย ทำจนชิน  5555 ต่อไปอ่านด้วยนะครับ    

 



   ภาพที่ 2  โปรแกรมจะเริ่มการติดตั้ง ท่านก็รอไปเรื่อยๆ จนกว่าคอมพิวเตอร์จะขึ้นข้อความถามหาตัวเครื่อง ปริ้นเตอร์

 

ภาพที่ 3  เครื่องคอมพิวเตอร์จะถามหาตัวเครื่องปริ้นเตอร์ แล้ว ขั้นตอนนี้ก็เริ่มทำตามที่เครื่องบอกเลย ขั้นตอนที่ 1 คือเสียบสาย USB เข้าเครื่องคอม ขั้นตอนที่ 2 เสียบสาย USB เข้าปริ้นเตอร์ ขั้นตอนที่ 3 เปิดเครื่อง ปริ้นเตอร์ แค่นั้นครับ แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการค้นหาปริ้นเตอร์และทำการติดตั้ง เป็นอันเสร็จขั้นตอน

 

ภาพที่ 4 เป็นภาพที่ สแกน มาจากคู่มือของเครื่อง ปริ้นเตอร์ เพื่อนำมาให้ดูว่าคู่มือได้สอนการติดตั้งอย่างละเอียด 


 วิธีที่ 2 กรณี ไป Download ไดร์เวอร์ มาจากเวปผู้ผลิต

        เมื่อคุณไป Download ไดร์เวอร์ มาเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการแตกไฟล์ ออกมาก่อน การแตกไฟล์ ในเครื่องก็ต้องมี โปรแกรม Winzip หรือ Winrar ก่อนนะครับ หากไม่มีต้องติดตั้งก่อน ไฟล์ที่บีบอัด ก็แล้วแต่บริษัทผู้ผลิตจะเลือกใช้ตัวไหนนะครับ สามารถทำได้หลายแบบ แต่ที่พบมากจะเป็น Zip rar และ exe ถ้าไฟล์ที่ download มาเป็น นามสกุล EXE ก็ไม่ต้อง ลง Winzip Winrar เมื่อทำการแตกไฟล์แล้วจะเป็นดังภาพ แล้วให้หาไฟล์ ชื่อ Setup แล้วทำการติดตั้ง ได้เลย ทำเหมือนขั้นตอนด้านบน คือ อย่าพึ่งเปิดเครื่องปริ้นเตอร์ หรือเสียบสาย USB เข้ากับคอมพิวเตอร์ รอจนกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะขึ้นข้อความถามหาปริ้นเตอร์ ถึงเสียบ USB และเปิดเครื่องปริ้นเตอร์ก็เป็นอันเสร็จครับ

 



 วิธีที่ 3 กรณี ให้ Windows จัดการหาไดร์เวอร์เอง หรือ คุณเป็นคนชี้ตำแหน่งที่อยู่ของไดร์เวอร์ให้

        กรณีที่ต้องการติดตั้งแบบนี้ จะใช้วิธีติดตั้งตรงข้ามกับ 2  วิธีด้านบน ถ้าจะติดตั้งแบบด้านบน ต้องติดตั้งโปรแกรมก่อน แล้วค่อยเสียบสาย USB และเปิดเครื่อง แต่วิธีที่ 3 นี้ จะต้องเสียบสาย USB และเปิดเครื่องก่อน จะติดตั้ง โปรแกรมไดร์เวอร์ แต่จะมีแยกไปอีก 2 แบบ คือ
1.  ถ้ามีแผ่น CD ให้ เลือก Install the software automatically
2.  ถ้าไป Download มาจากเวปไซด์ แล้วแตกไฟล์ไว้แล้ว  Install from a list or specific location

 

ภาพที่ 1 ให้เลือกหัวข้อในวงกลมสีแดงแล้ว next ไปเลย ทำตามขั้นตอนไปเลย  ก็เป็นอันเสร็จ

 

ภาพที่ 2 ให้เลือกหัวข้อในวงกลมสีแดงแล้ว next ไปเลย 

 


ภาพที่ 3 ให้กดปุ่ม Browse แล้วมันจะขึ้นกรอบใหม่ขึ้นมา แล้วเราก็ไปที่ ที่เราเก็บไดร์เวอร์เอาไว้ แล้วก็ OK แล้วมันจะทำงานของมันไปก็เป็นอ้นเสร็จ

            วีธีการนี้เป็นการติดตั้งอีกแบบนึง แต่จะยุ่งยากมากว่า วิธีที่ 1 และ 2 ทั้งๆที่มีแผ่น CD ก็สามารถทำวิธีที่ 1 ได้เลยอยู่แล้ว และถ้ามีไฟล์ที่ Download มาก็สามารถทำวิธีที่ 2 ได้เลยเช่นกัน แต่ถามว่ามันจะมีประโยชน์ยังไง คืออุปกรณ์ทุกชิ้นในคอมพิวเตอร์ จะต้องติดตั้งไดร์เวอร์ และหากคุณ เข้าใจการติดตั้งแบบ วิธีที่ 3  คุณจะสามารถติดตั้งไดร์เวอร์ ได้ทุกชนิดเลย เพราะขั้นตอนมันเหมือนกันทุกประการ ผมเลยนำมา ลงไว้เพื่อให้เป็นแนวทาง




 หากคุณเสียบเครื่องปริ้นเตอร์เข้าไปแล้วเปิดเครื่องก่อนติดตั้งแผ่น จะแก้ยังไง


        เมื่อคุณ จะทำการติดตั้ง ไดร์เวอร์ โดยมากที่เจอมา คือ มักจะเสียบสาย USB เข้ากับเครื่องและเปิด ปริ้นเตอร์ เลยทันที และในหน้าจอคอมพิวเตอร์  ก็จะขึ้น popup ถามดังภาพด้านล่าง โดยธรรมชาติของคนไทย คนชาติอื่นไม่ทราบ 555 แต่คนไทยเป็นแน่นอน คือ เมื่อเจอปุ่มที่มีข้อความ Next  Contiuse  OK Finish จะกดทันทีโดยไม่อ่านอะไร เพราะ ขี้เกียจอ่านหรือ อ่านไม่ออก อันนี้ไม่ทราบ มันจะขึ้นข้อความ มาดังภาพ
 

เมื่อหลงกดปุ่ม Next เครื่องคอมจะเข้าใจคำสั่งว่าให้ Windows หาไดร์เวอร์ที่ตัวมันเองแล้วกัน ถ้ามีก็จบ ถ้าไม่มีก็ให้ มันแสดงเครื่องหมาย คำถามไว้ใน Control Panel  หัวข้อ System หัวข้อย่อย Device Manager เอาไว้ให้ทราบว่า อุปกรณ์ที่คุณต้องการติดตั้ง  Windows ไม่มีไดร์เวอร์ให้ ให้คุณไปหามาใส่ซะ ทีนี้เมื่อคุณ หาไดร์เวอร์ได้แล้ว และทำการติดตั้ง ตามวิธีที่ 1 2 3 ก็จะไม่ได้แล้วทีนี้ เพราะ Windows ได้ทำการจดจำเครื่องปริ้นเตอร์ไปแล้ว ว่าไม่มีไดร์เวอร์ คราวนี้จะแก้ยังไง มาดูกันครับ
 



   ให้คุณไปที่ Control Panel  หัวข้อ System หัวข้อย่อย Device Manager และหาตัวที่ขึ้นเครื่องหมาย คำถาม ดังภาพด้านล่าง และทำการลบออก โดยการ คลิกเมาส์ขวาใส่ตัวที่ขึ้นเครื่องหมาย คำถาม แล้วเลือก Uninstall  เมื่อลบเสร็จแล้วก็ให้ ทำการปิดเพาเวอร์ ปริ้นเตอร์ไว้ก่อน และให้ไปทำการติดตั้ง ไดร์เวอร์และทำตามวิธีที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ได้เลยครับ ก็เป็นอันเสร็จ
     
สำหรับท่านที่ติดตั้งเป็นแล้ว ก็อ่านข้ามไปเลยหรือไม่อ่านก็ได้นะครับ ผมนำมาลงสำหรับท่านที่ติดตั้งไม่เป็นจะได้ ติดตั้งเองได้ เพราะทุกครั้งที่ลง Windows ใหม่ ท่านต้องได้ติดตั้ง ไดร์เวอร์ปริ้นเตอร์ใหม่ทุกครั้ง จะได้ไม่ต้องเสียเวลายกไปที่ร้าน ให้เค้าติดตั้งให้ ถ้าท่านติดตั้ง ปริ้นเตอร์ได้ก็ติดตั้ง อย่างอื่นได้เพราะมันเหมือนกัน

11.2Driver ของการ์ดจอ


Driver ของการ์ดจอ
โดยปกติแล้วหากการ์ดจอเป็นรุ่นใหม่ ๆ และ Windows ไม่รู้จัก จะสามารถแสดงผลได้แค่ระดับต่ำสุดคือ 16 สีที่ 640x480จุด สำหรับตัวอย่างนี้ จะเป็นการ์ดจอ Creative Graphic riva TNT 16M (PCI) ซึ่งต้องลง Driver ของการ์ดจอเอง เริ่มต้นจากหน้าแรกที่ Desktop ของ Windows กดปุ่มเมาส์คลิกขวา เลือกเมนู Properties เพื่อเข้าสู่หน้าของ Display Propertiesจะขึ้นเมนูในส่วนของ Display Properties

กดเลือกที่ป้าย Setting ที่ช่อง Display จะเห็นว่าการ์ดแสดงผลจะเป็น Standard PCI Graphic Adapter (VGA) คือเป็นแบบมาตราฐานทั่วไป กรณีเช่นนี้ต้องทำการลง Driver ของการ์ดแสดงผลใหม่ก่อน กดเลือกที่ปุ่ม Advanced

เลือกที่ป้าย Adapter กดที่ Change เพื่อเปลี่ยน Driver ของการ์ดจอใหม่

กด Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

เลือกที่ Search for a better driver . . . กด Next

สำหรับช่องนี้จะให้ใส่ว่า Driver ที่เราต้องการลงเก็บไว้ที่ไหน ผมเลือกแต่เฉพาะ Specify a location เพื่อระบุ Folder ที่เก็บDriver เอง กดที่ Browse เพื่อเลือก Folder

ถ้าหากมีการแสดงแบบนี้ขั้นมาเพราะว่า Windows จะทำการ Browse หรือหา Driver จาก Drive A: ก่อน ก็กด Cancel ไปเลย

เลือก Folder ที่เก็บ Driver ของการ์ดจอและกด OK

จะกลับมาหน้าแรก กด Next เพื่อติดตั้ง Driver ต่อไป

กด Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

รอจนเครื่องทำการติดตั้ง Driver เสร็จ กด Finish หลังจากนี้ เครื่องจะต้องทำการ Restart ใหม่ก่อน กด Yes เพื่อบูทเครื่องใหม่ หลังจากที่บูทเครื่องใหม่แล้วเราก็จะสามารถใช้งานการ์ดจอได้เต็มความสามารถ หรือจะทำการเปลี่ยนแปลงตั้งค่าของการแสดงผลใหม่โดยกด เมาส์ขวา ที่ Desktop และเลือก Properties เพื่อเข้าหน้าจอ Display Properties เลือกที่ป้ายSetting

หน้าจออาจจะไม่เหมือนกันนะครับ เอาเป็นว่าตั้งค่าของ colors ให้เป็น High color (16 bit) หรือขนาดอื่น ๆ ที่สามารถใช้งานได้สูงสุด ส่วนที่ช่อง Screen area ก็เลือกที่ 800 by 600 pixels กด Apply (อาจจะตั้งค่าจอเป็นอย่างอื่นก็ได้แล้วแต่ความชอบของแต่ละท่าน)

ในกรณีที่จอ ไม่สามารถแสดงผลตามที่ตั้งไว้ได้ บางครั้งอาจจะทำให้มองอะไรไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องเลย เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงขนาดของหน้าจอ ให้รอ 15 วินาทีโดยไม่ต้องทำอะไร Windows จะตั้งค่ากลับมาเหมือนเดิม ซึ่งจะพบได้ในการใช้จอรุ่นเก่า ๆ และนำมาใช้กับการ์ดจอที่สามารถตั้งได้ละเอียดกว่า

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

11.1การติดตั้งDriver

                                     การติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ตาง ๆ ซึ่งหากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นแบบ                รุ่นเก่า ๆ อาจจะไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า Windows จะจัดการกับ Driver ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้ว หรือที่เรียกกันว่า Plug and Play นั่นแหละ แต่ถ้าหากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานเป็นรุ่นใหม่ ก็ต้องมามำการติดตั้ง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ เองเพื่อให้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้สมบูรณ์